องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริการหรือนาซา จะเริ่มโครงการอาร์ทิมิสและกำลังสนับสนุนภารกิจอีกหลายอย่างในการส่งอุปกรณ์และสิ่งของต่าง ๆ ขึ้นไปยังดวงจันทร์ เพื่อให้มนุษย์อวกาศใช้งานในอนาคต ข่าวหนังใหม่
อินเดีย ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ต่างก็มีภารกิจมุ่งหน้าไปดวงจันทร์ในปีนี้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายบริษัทที่จะมีภารกิจเยือนดวงจันทร์ในปีนี้ด้วย
ภารกิจเหล่านี้ล้วนเป็นการเดินทางไปยังอวกาศโดยไม่มีมนุษย์ไปด้วย และส่วนใหญ่จะเป็นการวางพื้นฐานสำหรับการส่งมนุษย์ขึ้นไปอยู่บนดวงจันทร์ในอีกไม่ถึงสิบปีข้างหน้า
แต่นั่นก็ไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด การตั้งสถานีอวกาศบนดวงจันทร์เป็นเพียงก้าวหนึ่งของเส้นทางในการปฏิบัติภารกิจส่งคนไปยังดาวอังคาร
ดร.โซเอ เลนาร์ดต์ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยบริสตอล เชื่อว่า ปีนี้จะเห็นการเริ่มต้นการแข่งขันด้านอวกาศครั้งใหม่ของหลายประเทศ
แม้ว่าภารกิจเหล่านี้มีเป้าหมายในการสำรวจดวงจันทร์ แต่บางภารกิจก็มีเป้าหมายทะเยอทะยานยิ่งกว่านั้น
ดร.เลนาร์ดต์กล่าวว่า ภารกิจบางอย่างเป็นภารกิจระยะยาว ที่มีเป้าหมายไกลกว่านั้น และภารกิจเดินทางไปยังดวงจันทร์เป็นทั้งการพิสูจน์แนวคิดและโอกาสการทดสอบเทคโนโลยีใหม่และการร่วมมือกันด้วย
ภารกิจแต่ละอย่างเกี่ยวกับอะไรบ้าง และมีเป้าหมายอะไร นี่คือภารกิจเดินทางสู่ดวงจันทร์ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้
ภารกิจอาร์ทิมิส-1 (Artemis-1) และแคปสโตน (Capstone)
โครงการอวกาศอาร์ทิมิสของนาซา มีเป้าหมายในการส่งมนุษย์กลับขึ้นไปยังดวงจันทร์ให้ได้ภายในปี 2025
เดือน มี.ค. นี้ ภารกิจอาร์ทิมิส-1 จะเริ่มเตรียมวางรากฐานสำหรับเป้าหมายที่ท้าทายนั้น
ภารกิจนี้จะไม่มีมนุษย์เดินทางไปด้วย มีแต่เพียงหุ่นจำลอง "มูนิคิน" (Moonikin) ที่จะนั่งในที่นั่งผู้บัญชาการยานอาร์ทิมิส 1 นี่เป็นหุ่นจำลองเหมือนคนจริงที่ตั้งชื่อตาม อาร์ทูโร แคมโพส ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการนำยานอะพอลโล 13 เดินทางกลับสู่โลกได้อย่างปลอดภัย
บทบาทของแคมโพสจะเป็นการทดสอบชุดอวกาศแบบเดียวกันที่จะให้มนุษย์อวกาศบนยานอาร์ทิมิสใช้ระหว่างปฏิบัติภารกิจ
ระบบการปล่อยตัวสู่อวกาศ (Space Launch System—SLS) ระบบใหม่ของนาซา ซึ่งใช้จรวดที่ทรงพลังที่สุดในโลก จะนำส่งยานอวกาศโอไรออน (Orion) ขึ้นไปโคจรรอบดวงจันทร์ เพื่อทดสอบความปลอดภัยของยานอวกาศที่จะให้ลูกเรือขึ้นไป
นาซาจะศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับโล่กันความร้อนของยานโอไรออน ระหว่างการกลับสู่โลกด้วยความเร็วสูง ซึ่งจะทำให้มีอุณหภูมิสูงเกือบ 2,760 องศาเซลเซียส
ปีนี้จะเป็นปีที่โครงการอาร์ทิมิสมีความก้าวหน้ามากขึ้นอีกขั้น
แคปสโตน (Capstone) ย่อมาจาก Cislunar Autonomous Positioning System Technology Operations and Navigation Experiment ซึ่งหมายถึง การทดลองท่องอวกาศและปฏิบัติการเทคโนโลยีระบบระบุตำแหน่งอัตโนมัติระหว่างโลกและดวงจันทร์ เป็นภารกิจบุกเบิกสำหรับโครงการอาร์ทิมิส
นาซาจะปล่อยดาวเทียมที่มีขนาดเท่ากับเตาไมโครเวฟ หรือที่มีชื่อว่า คิวบ์สแตต (CubeStat) ซึ่งเป็นยานอวกาศของแคปสโตน ในเดือน มี.ค. เช่นกัน เพื่อทดสอบการโคจรรอบดวงจันทร์ การหมุนรอบดวงจันทร์ขณะที่ดวงจันทร์กำลังโคจรรอบโลก
วัตถุประสงค์ของภารกิจนี้คือ การทำให้มั่นใจว่า มนุษย์อวกาศจะมีความปลอดภัยในการเดินทางในอนาคต
No comments:
Post a Comment